ข่่าวสาร : สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย | คปภ.

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

เรื่อง การประกันภัย (Insurance)

ความสำคัญและประโยชน์ของการประกันภัย
ในการวางแผนทางการเงินควรคำนึงถึงความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง
ที่มีผลกระทบต่อระบบการวางแผนทางการเงินของบุคคล
 
การวางแผนการใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวัน ควรเริ่มจาก
เขียนรายจ่ายที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน เรียงจากความจำเป็นมากไปน้อย
นำรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดมารวมกัน และเปรียบเทียบกับรายได้ของตนเอง
ปรับเปลี่ยนรายจ่ายให้เมาะสมกับรายได้ที่ได้รับ
ควรมีการแบ่งเงินก้อนหนึ่งไว้เพื่อการออม โดยประเมินความสามารถในการออมของตนเองว่าสามารถทำได้มากน้อยเพียงใด และควรมีการออมอย่างสม่ำเสมอ

การประกันภัย  เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ได้ทำประกันภัยไว้  โดยการเฉลี่ยหรือการกระจายความเสียหายไปยังสมาชิกที่ทำประกันภัย  โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ทำหน้าที่เก็บเบี้ยประกันและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา 




ความสำคัญของการประกันภัย  แบ่งได้ดังนี้
1. ความสำคัญของการประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัย  คือ  การให้ความคุ้มครองและเป็นหลักประกันความมั่นคงในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่ชีวิตของตนเองและครอบครัว

2. ความสำคัญของการประกันภัยต่อสังคม  คือ  เป็นหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้เอาประกันภัย  และช่วยแบ่งเบาภาระของสังคมทำให้เกิดความมั่นใจ  หากเกิดอุบัติภัยและความเสียหายขึ้น  ผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

3. ความสำคัญของการประกันภัยต่อเศรษฐกิจ    เงินที่ได้จากการเก็บเบี้ยประกันภัย  เป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศในการกู้ยืมมาลงทุนทำธุรกิจหรือขยายธุรกิจให้มีความเจริญก้าวหน้า  สำหรับธุรกิจที่ทำการประกันภัยจะได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สินที่ได้ทำประกันภัยไว้  ทำให้เกิดความมั่นคงในกิจการ
ประโยชน์ของการประกันภัย
ประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย ดังนี้
- ให้ความคุ้มครองต่อบุคคล  ครอบครัวและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน
- ช่วยปลูกฝังให้เกิดนิสัยประหยัดและช่วยให้เกิดการออม

ประโยชน์ต่อธุรกิจ ดังนี้
- ช่วยให้เกิดความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ เพราะผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลาเป็นกังวลเกี่ยวกับการเสี่ยงภัย
- ช่วยในการขยายเครดิต  ลดความเสี่ยงของผู้ให้กู้จากหนี้สูญ
- ช่วยให้เกิดเสถียรภาพในต้นทุนการผลิต
- ช่วยส่งเสริมธุรกิจบางประเภทให้เจริญก้าวหน้า  โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงภัยมาก ๆ

ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
- ช่วยระดมทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ
- ช่วยลดภาระแก่สังคมและรัฐบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น